บทที่ 10 การพัฒนาและการใช้ระบบข้อมูลการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ
(Developing and
Implementing Effective Accounting Information Systems)
วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ
1. การเกิดวงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ
(Birth) โดยทั่วไปแล้วความต้องการพัฒนาสารสนเทศในองค์การมีที่มาจาก 2 แหล่งหลักคือ
1) ความต้องการที่มี
ความคาดหมายกันไว้ล่วงหน้า ได้แก่ การพัฒนาตามแผนการพัฒนา
การปรับปรุงระบบที่มีอยู่ และ
2) ความ
ต้องการที่มิได้คาดหมายกันไว้ล่วงหน้า ได้แก่ การพัฒนาตามแผนการพัฒนา
การปรับปรุงระบบที่มีอยู่ และความ ต้องการที่มิได้คาดหมายล่วงหน้า ได้แก่
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการท างาน เป็นต้น การเกิดของระบบมีขั้นตอนดังนี้
2.1 การวางแผนระบบสารสนเทศ
ในขั้นตอนนี้ธุรกิจจะท าการประเมินตนเองโดยศึกษาจาก สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของธุรกิจ
2.2 แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศ
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินตนเองของธุรกิจจะเป็นตัวก าหนด
วัตถุประสงค์ระยะยาวเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศ ทิศทางขององค์การ
2.3 แผนปฏิบัติการด้านระบบสารสนเทศ
คือการก าหนดรายละเอียดในการปฏิบัติงานด้วยสารสนเทศ
การคาดหมายปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
2. การพัฒนาและเติบโต
(Development and Growth) องค์การจะดำเนินการสรรหาและจัดทำระบบตามวิธีที่องค์การเห็นว่าเหมาะสม
นำระบบไปใช้งาน และการบำรุงรักษา
3. การเจริญเติบโตเต็มที่
(Maturity) เมื่อพัฒนาระบบสารสนเทศและนำไปใช้งานแล้ว
จะเป็นช่วงที่มีการ
บำรุงรักษาระบบเพื่อให้ระบบสามารถตอบสนองความต้องการได้นานที่สุด
4. การสิ้นสุดการใช้งาน
(Decline) เมื่อระบบถูกใช้งานมาระยะหนึ่ง
ที่การบำรุงรักษาที่มีต้นทุนที่สูงไป ธุรกิจจะทำการยกเลิกระบบเก่า
และนำระบบใหม่เข้ามาใช้งานแทน
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเป็นการสร้างระบบงานใหม่หรือปรับปรุงระบบงานเดิมให้ดีกว่าที่เป็นอยู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงานจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยในขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
เพื่อที่จะเกิดการยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ
เข้ามาปรับปรุงและประยุกต์ใช้กับระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วการปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
เพื่อสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
โดยทั่วไปการพัฒนาระบบขึ้นกับสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ กระบวนการทางธุรกิจ วัตถุประสงค์
เป้าหมายขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ แนวทางของระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาบุคลากร
ที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนา วิธีการและเทคนิคในการพัฒนา ซึ่งมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน
เทคโนโลยี ที่ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบเนื่องจากมีให้เลือกใช้มากมาย
ต้องคำนึงถึงความ เหมาะสมต่อการใช้งาน ค่าใช้จ่ายและส่วนต่าง ๆ
งบประมาณที่ต้องจัดเตรียมไว้รองรับล่วงหน้า
ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการใช้ระบบการใช้ข้อมูลร่วมกันและการติดต่อสื่อสาร
การบริหารโครงการ
เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเพื่อป้องกันไม่ให้การพัฒนาล่าช้าและเกินงบประมาณ
การรวิเคราะห์ระบบการวางแผนระบบ
คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบว่าตอบสนองต่อความต้องการและมีความเข้าใจตรงกันหรือไม่
เข้าถึงปัญหาได้ตรงจุด เพื่อแก้ปัญหาได้จับประเด็นของปัญหา และสาเหตุของปัญหา
กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบด้วยความชัดเจนเพื่อลดความยุ่งยากในการพัฒนาระบบได้
กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ เพื่อให้งานมีมาตรฐานเดียวกันสะดวกในการเขียนโปรแกรม
เพราะจะมีปัญหาในเรื่องของรูปแบบข้อมูลบำรุงรักษาได้คล่องตัว และสะดวก
ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
จึงควรมีความรอบคอบและเลือกวิธีการที่ดีที่สุดในแต่ละวิธี
เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนาแตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
เพื่อช่วยให้ทีมงานพัฒนาระบบแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ตรวจสอบข้อผิดพลาดได้อย่างสะดวก
ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนอนาคตเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยหลักๆแล้วการกำหนดเป็น 6 ระยะ ได้แก่
1) การกำหนดเลือกโครงการ
2) การเริ่มต้นและวางแผน
โครงการ
3) การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้กับทีมงานอย่างชัดเจน
4) สร้างทางเลือกและเลือกทางเลือก
ที่ดีที่สุด
5) ศึกษาความเป็นไปได้ในการน
าระบบมาใช้งาน
6) ประเมินความคุ้มค่าและผลที่ได้รับ
-
การวิเคราะห์ระบบเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้แล้ว
นำมาวิเคราะห์กระบวนการ ต่างๆ ในระบบเพื่อศึกษาว่ากระบวนการใดบ้างที่มีปัญหา
ควรปรับปรุงแก้ปัญหาอย่างไร
-
การออกแบบระบบเพื่อให้เข้ากับความต้องการของระบบใหม่ตามที่ได้มีการวิเคราะห์ไว้
โดยนักวิเคราะห์ระบบ
-
การดำเนินการระบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อฮาร์ดแวร์ เขียนโปรแกรม
ทำการทดสอบ การจัดทำเอกสาร ระบบ
เพื่อให้เกิดความมั่นใจและความพร้อมในการนำไปใช้งาน
-
การถ่ายโอนระบบงานเป็นการเปลี่ยนโอนงานระบบเก่าเป็นระบบใหม่ มีอยู่ 4 แบบคือ
การถ่ายโอนแบบขนานเป็นการติดตั้งงานเก่าคู่กับงานใหม่ไประยะหนึ่งแล้วค่อยยกเลิกเพื่อตรวจสอบว่าระบบใหม่เป็นยังไง
การถ่ายโอนแบบทันที มีข้อดีที่ค่าใช้จ่ายต่ำสุด แต่มีความเสี่ยงสุด
การใช้ระบบทดลองนำระบบใหม่มาใช้ทันทีแต่เป็นการใช้ เฉพาะส่วนงานที่กำหนด การถ่ายโอนทีละขั้นตอน
คือค่อยๆเปลี่ยนงานบางส่วน แล้วค่อยๆเปลี่ยนไปทีละกลุ่มงานจนครบ
การอบรมผู้ใช้ระบบเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานให้สามารถใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
การบำรุงรักษาระบบ
เป็นการดูแลระบบให้มีประสิทธิภาพในการทำงานอาจเป็นการปรับปรงแก้ไขโปรแกรมให้รองรับกับความต้องการใหม่ๆ
รูปแบบและวิธีการพัฒนาระบบและบำรุงรักษา
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
หมายถึง การสร้างระบบใหม่ หรือปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้สามารถทำงาน
ให้ตามความต้องการ วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศมีหลายรูปแบบ ได้แก่
1. วิธีพื้นฐานในการพัฒนาระบบสามารถจำแนกได้เป็น 4 วิธีคือ
1.1 วิธีเฉพาะเจาะจง
(Ad Hoc Approach) คือวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะเจาะจงในงานใดงานหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องมองภาพรวมของระบบ
1.2 วิธีสร้างฐานข้อมูล
(Database Approach) คือวิธีการที่มุ่งพัฒนาเฉพาะฐานข้อมูล
เพื่อความสะดวกในการรวบรวมจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
1.3 วิธีพัฒนาจากล่างขึ้นบน
(Bottom-up Approach) คือวิธีการพัฒนาจากระบบเดิมที่มีอยู่ไปสู่ระบบใหม่ที่ต้องใช้งาน
1.4 วิธีพัฒนาจากบนลงล่าง
(Top-down Approach) คือวิธีพัฒนาจากนโบายหรือสิ่งที่ผู้บริหาร
ระดับสูงต้องการ
2. วงจรพัฒนาระบบ
(System Development Life Cycle : SDLC) เป็นวิธีการพัฒนาระบบที่มีใช้มานานและเป็นที่นิยมในองค์กรส่วนใหญ่
สามารถกำหนดความต้องการของระบบได้อย่างชัดเจนประกอบด้วย 7 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาเพื่อค้นหาปัญหาข้อเท็จจริงที่แท้จริง
ซึ่งหากปัญหาที่ค้นพบ มิใช่ปัญหาที่แท้จริง
ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาก็จะตอบสนองการใช้งานไม่ครบถ้วน
ปัญหาหนึ่งของระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันคือ
โปรแกรมที่ใช้งานในระบบงานเดิมเหล่านั้นถูกนำมาใช้งานใน
ระยะเวลาที่เนิ่นนานอาจเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อติดตามผลงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น
ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบ
ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจึงต้องมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่จะพัฒนาแล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา
ซึ่งอาจมีแนวทางหลายแนวทาง และคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้
ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้
อย่างไรก็ตามแนวทางที่ดีที่สุดอาจไม่ถูกเลือกเพื่อมาใช้งาน
ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่ต้องใช้ งบประมาณสูง
ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดในที่นี้คงไม่ใช่ระบบที่ต้องใช้งบประมาณสูงมาก
แต่เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขในสถานการณ์นั้น ๆ เป็นหลักสำคัญ
ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของงบประมาณค่าใช้จ่ายและเวลาที่จำกัด
อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการกำหนดปัญหานี้
หากเป็นโครงการขนาดใหญ่อาจเรียกขั้นตอนนี้ว่า ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้
สรุปขั้นตอนของระยะการกำหนดปัญหา
1. รับรู้สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น
2. ค้นหาต้นเหตุของปัญหารวบรวมปัญหาของระบบงานเดิม
3. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาระบบ
4. จัดเตรียมทีมงาน
และกำหนดเวลาในการทำโครงการ
5. ลงมือดำเนินการ
ระยะที่ 2 การวิเคราะห์
การวิเคราะห์จะต้องรวบรวมข้อมูลความต้องการ
(Requirements) ต่าง
ๆ มาให้มากที่สุด ซึ่งการสืบค้น
ความต้องการของผู้ใช้สามารถดำเนินการได้จากการรวบรวมเอกสารการสัมภาษณ์
การออกแบบสอบถามและการสังเกตการณ์บนสภาพแวดล้อมการทำงานจริง
เมื่อได้นำความต้องการมาผ่านการวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นข้อกำหนดที่ชัดเจนแล้ว
ขั้นตอนต่อไปของนักวิเคราะห์ระบบก็คือ
การนำข้อกำหนดเหล่านั้นไปพัฒนาเป็นความต้องการของระบบใหม่ด้วยการพัฒนาเป็น
แบบจำลองขึ้นมาซึ่งได้แก่ แบบจำลองกระบวนการ (Data
Flow Diagram) และแบบจำลองข้อมูล (Data Model) เป็นต้น
สรุปขั้นตอนของระยะการวิเคราะห์
1. วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน
2. รวบรวมความต้องการและกำหนดความต้องการของระบบใหม่
3. วิเคราะห์ความต้องการเพื่อสรุปเป็นข้อกำหนด
4. สร้างแผนภาพ DFD และแผนภาพ E-R Diagram
ระยะที่ 3 การออกแบบ
เป็นระยะที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ที่เป็นแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนาเป็นแบบจำลองเชิงกายภาพ
โดยแบบจำลองเชิงตรรกะที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์
มุ่งเน้นว่ามีอะไรที่ต้องทำในระบบในขณะที่
แบบจำลองเชิงกายภาพจะนำแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนา
ต่อด้วยการมุ่งเน้นว่าระบบดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดผลตามต้องการ
งานออกแบบระบบประกอบด้วยงานออกแบบสถาปัตยกรรมระบบที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่ายการออกแบบรายงาน การออกแบบหน้าจออินพุตข้อมูล
การออกแบบผังงาน ระบบ การออกแบบฐานข้อมูลและการออกแบบโปรแกรม เป็นต้น
สรุปขั้นตอนของระยะการออกแบบ
1. พิจารณาแนวทางในการพัฒนาระบบ
2. ออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ
3. ออกแบบรายงาน
4. ออกแบบหน้าจออินพุตข้อมูล
5. ออกแบบผังงานระบบ
6. ออกแบบฐานข้อมูล
7. การสร้างต้นแบบ
8. การออกแบบโปรแกรม
ระยะที่ 4 การพัฒนา
เป็นระยะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม
โดยทีมงานโปรแกรมเมอร์จะต้องพัฒนาโปรแกรมตามที่
นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้การเขียนชุดคำสั่งเพื่อสร้างเป็นระบบงานทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมา
โดยโปรแกรมเมอร์ สามารถนำเครื่องมือเข้ามาช่วยในการพัฒนาโปรแกรมได้เพื่อช่วยให้ระบบงานพัฒนาได้เร็วขึ้นและมีคุณภาพ
สรุปขั้นตอนของระยะการพัฒนา
1. พัฒนาโปรแกรม
2. เลือกภาษาโปรแกรมที่เหมาะสม
3. สามารถนำเครื่องมือมาช่วยพัฒนาโปรแกรมได้
4. สร้างเอกสารประกอบโปรแกรม
ระยะที่ 5 การทดสอบ
เมื่อโปรแกรมได้พัฒนาขึ้นมาแล้ว
ยังไม่สามารถนำระบบไปใช้งานได้ทันทีจำเป็นต้องดำเนินการทดสอบ
ระบบก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงเสมอ
ควรมีการทดสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อนด้วยการสร้างข้อมูลจำลองขึ้นมาเพื่อใช้
ตรวจสอบการทำงานของระบบงาน หากพบข้อผิดพลาดก็ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
การทดสอบระบบจะมีการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาเขียน
และตรวจสอบว่าระบบตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่
สรุปขั้นตอนของระยะการทดสอบ
1. ทดสอบไวยากรณ์ภาษาคอมพิวเตอร์
2. ทดสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้
3. ทดสอบว่าระบบที่พัฒนาตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่
ระยะที่ 6 การนำระบบไปใช้
เมื่อดำเนินการทดสอบระบบจนมั่นใจว่าระบบที่ได้รับการทดสอบนั้นพร้อมที่จะนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานบน
สถานการณ์จริง ขั้นตอนการนำระบบไปใช้งานอาจเกิดปัญหา
จากการที่ระบบที่พัฒนาใหม่ไม่สามารถนำไปใช้งานแทนระบบงานเดิมได้ทันที
จึงมีความจำเป็นต้องแปลงข้อมูลระบบเดิมให้อยู่ในรูปแบบที่ระบบใหม่สามารถนำไปใช้งานได้เสียก่อน
หรืออาจพบข้อผิดพลาดที่ไม่คาดคิดเมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์จริง
ครั้นเมื่อระบบสามารถรันได้จนเป็นที่น่าพอใจทั้งสองฝ่าย ก็จะต้องจัดทำเอกสารคู่มือระบบรวมถึงการฝึกอบรมผู้ใช้
สรุปขั้นตอนของระยะการนำระบบไปใช้
1. ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ก่อนที่จะนำระบบไปติดตั้ง
2. ติดตั้งระบบให้เป็นไปตามสถาปัตยกรรมที่ออกแบบไว้
3. จัดทำคู่มือระบบ
4. ฝึกอบรมผู้ใช้
5. ดำเนินการใช้ระบบงานใหม่
6. ประเมินผลการใช้งานของระบบใหม่
ระยะที่ 7 การบำรุงรักษา
หลังจากระบบงานที่พัฒนาขึ้นใหม่ได้ถูกนำไปใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนการบำรุงรักษาจึงเกิดขึ้นทั้งนี้ข้อบกพร่องในด้านการทำงานของโปรแกรมอาจเพิ่งค้นพบได้
ซึ่งจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
รวมถึงกรณีที่ข้อมูลที่จัดเก็บมีปริมาณที่มากขึ้นต้องวางแผนการรองรับเหตุการณ์นี้ด้วย
นอกจากนี้งานบำรุงรักษายังเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมกรณีที่ผู้ใช้มีความต้องการเพิ่มขึ้น
สรุปขั้นตอนระยะการบำรุงรักษา
1. กรณีเกิดข้อผิดพลาดขึ้นจากระบบให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
2. อาจจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม กรณีที่ผู้ใช้มีความต้องการเพิ่มเติม
3. วางแผนรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4. บำรุงรักษาระบบงาน และอุปกรณ์
อ้างอิง
1.https://dekgenius.com/elearning/javaprogramming/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A-system-de/
2.http://www.elfhs.ssru.ac.th/wipada_ch/pluginfile.php/906/course/summary/Chapter3-System%20Development.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น