หน้าเว็บ

บทความวิชาการ



บทความวิชาการ


การยอมรับเทคโนโลยีธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
Acceptance of electronic financial transaction technology
ขนิษฐา กันทอง1 จีรนันท์ ดำรงค์ภักดี2 ชนาพร พรหมทอง3 ชลิตา ศรีสมยง4 ไปรยา ทองอ่อน5
1สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
2สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
3สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
4สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี
5สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี

บทคัดย่อ
ในปัจจุบันพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไทยมีความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าคนไทยเริ่มมีการใช้เงินสดน้อยลง เนื่องมาจากความก้าวหน้าด้านระบบเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ระบบดิจิทัล โทรคมนาคม และนวัตกรรมทางการเงิน ส่งผลให้การใช้จ่ายซื้อของจาก ร้านสะดวกซื้อร้านอาหาร หรือการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะต่าง ๆ มีการใช้จ่ายผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์(e-Payment) เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต Internet Banking Mobile Banking QR code เป็นทางเลือกให้ทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ต้องใช้เงินสดได้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น สะดวกขึ้น ซึ่งส่งผลให้ในปัจจุบันสังคมไทยได้มี ความเปลี่ยนแปลงด้านธุรกรรมทางการเงินในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญมากมาย ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการ พัฒนาระบบการชำระเงินไทยให้ทันต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตลอดจน สภาพเศรษฐกิจ สังคม ความต้องการของประชาชน รวมทั้งสร้างบริการชำระเงินที่ดี สะดวก และปลอดภัย ต่อการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไทยได้อย่างแท้จริง รวมทั้งสามารถป้องกันปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ของระบบการเงินการคลัง และสร้างความโปร่งใสให้การคลังของรัฐ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศอย่างยิ่ง ต่อไปในอนาคต
Abstract
At present, the behavior of financial transactions of Thai people is changing.  It can be seen that Thai people are using less cash.  Due to advances in computer technology, digital systems, telecommunications and financial innovations  Resulting in spending from  Convenience store, restaurant  Or traveling via various public transportation systems, spending through the system  Electronic (e-Payment) such as credit cards, debit cards, Internet Banking Mobile Banking QR code is an alternative to conducting financial transactions without cash, easier, faster, more convenient, resulting in the current Thai society has  Many significant changes in financial transactions  Regarded as an important starting point for  Develop Thai payment systems to keep up with the development and changes of technology, as well as the economic, social conditions, people's needs.  As well as creating good payment services that are convenient and secure for Thai financial transactions  Including able to prevent corruption problems  Of the financial and fiscal system  And create transparency for the government fiscal  Which will greatly benefit the country in the future.
บทนำ
กระแสโลกออนไลน์ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคในการทำธุรกรรมทางการเงิน นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในโลกการเงินได้ส่งผลให้เกิดรูปแบบการให้บริการทางการเงินต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวก และตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางการเงินสมัยใหม่ที่สามารถทำธุรกรรมการเงินได้ทุกที่ทุกเวลา รวดเร็ว และสะดวกสบาย ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น โดยผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้บริการดิจิตอลแบงกิ้ง1/ (Digital Banking) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้บริการ Internet Banking และ Mobile Banking เพราะสะดวกสบายกว่า และสามารถทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลาด้วยตนเองโดยไม่ต้องไปที่สาขาของธนาคารสะท้อนจากผลสำรวจ PwC’s Global Digital Banking Survey ที่ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงจากฝ่ายไอทีจำนวน 157 ราย ใน 14 ประเทศทั่วโลกพบว่า ในปี2559 ปริมาณการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางสมาร์ทโฟนจะเติบโตถึงร้อยละ 64 นอกจากนี้ จากข้อมูลของบริษัท Statista สะท้อนถึงการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือของเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และแอฟริกา ที่คาดว่าในปี 2559 จะมีผู้ใช้บริการช าระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือสูงถึง 163.6 และ101.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีจำนวน 85 และ 57.8 ล้านคน ตามลำดับทุกวันนี้ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) หันมาให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินมากขึ้น เช่น True Money ของบริษัท True, m-Pay ของ AIS และ LINE Pay ของ LINE ประกอบกับคนรุ่นใหม่อย่างเจนวาย (Gen Y) มองหาบริการอื่นที่สะดวกกว่าการไปธนาคาร เช่น e-wallet และบริการที่เชื่อมต่อกับร้านค้าออนไลน์โดยตรง ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ในไทยได้ปรับตัวครั้งใหญ่สู่ Digital Banking แข่งกันเปิดตัวแอปพลิเคชันทำธุรกรรมผ่านมือถือ ตั้งกองทุนสนับสนุนสตาร์ทอัพสายฟินเทค และลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะไม่อยากเป็นฝ่ายถูก disrupt เสียเอง การเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลชัดเจนมากที่สุด คือ จีน ซึ่งก้าวสู่สังคมไร้เงินสดเต็มสูบ ไม่แปลกถ้าเราจะไม่เห็นใครใช้เงินซื้อของในตลาดหรือกระทั่งห้างสรรพสินค้า แต่จะหยิบมือถือขึ้นมาสแกน QR Code และชำระเงินเสร็จสรรพในเวลาไม่กี่นาที นี่คือผลกระทบอันใหญ่หลวงจากการเติบโตแบบพุ่งทะยานของสองยักษ์ใหญ่ผู้ครองตลาดบริการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันมือถือ ได้แก่ Alipay ของ Ant Financial ในเครือ Alibaba Group มีผู้ใช้งานประจำ 520 ล้านราย/เดือน ส่วน Wechat Pay ของแอปพลิเคชันแชท Wechat จาก Tencent มีผู้ใช้งานประจำสูงถึง 900 ล้านราย/เดือน ขณะที่ธนาคารขนาดกลาง และธนาคารพาณิชย์แทบทุกรายในจีน ล้วนประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก จึงตัดสินใจลงนามข้อตกลงร่วมกับ Alibaba Tencent และ Baidu สามทหารเสือแห่งวงการไอที เพื่อไม่ให้ถูกกลืนไปพร้อมกับคลื่น Digital Disruption ในท้ายที่สุด
Gadget & Technology
     ด้วยทิศทางของธุรกิจธนาคารที่ต้องปรับตัวให้รับกับการมาของเทคโนโลยีทางด้านการเงิน (Financial Technology) หรือที่เราได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ว่า ‘FinTech’ ทำให้ปัจจุบันธนาคารรายใหญ่เริ่มมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาลงทุน อีกมุมหนึ่งก็ได้ให้การสนับสนุนนักพัฒนา และเหล่าสตาร์ทอัพเกี่ยวกับธุรกิจการเงิน เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นจุดแข็งในการให้บริการในอนาคตต่อไป แต่ใช่ว่า FinTech จะเป็นธุรกิจใหม่แต่อย่างใด เพราะในความเป็นจริงแล้ว FinTech เริ่มเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่ และกลุ่มคนที่ใช้งานสมาร์ทโฟนมาได้พอสมควรแล้ว ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือกุญแจสำคัญที่จะพาพวกเราทุกคนให้เข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านการเงินนี้อย่างเหมาะสม
1. อีเพย์เมนต์ (E-payment)
ถือเป็นระบบแรกๆ ที่แฝงเข้ามาในการใช้ชีวิต แต่แฝงมาในรูปของการเป็นบัตรเติมเงินไว้ชำระค่าบริการอย่าง Rabbit ที่นอกจากจะเป็นบัตรเติมเงินให้ใช้งานรถไฟฟ้า BTS แล้ว ยังถูกนำไปใช้ในการชำระค่าบริการต่างๆตามร้านค้า ร้านอาหารที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ หรือการที่เราเข้าแอปในมือถือของทั้ง 3 ค่ายมือถือ เพิ่มชำระค่าบริการผ่านอีเซอร์วิสต่างๆ ก็ถือเป็นการใช้อีเพย์เมนต์ในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นแนวคิดในการให้บริการ อี-เพย์เมนต์ จึงมีหลากหลายรูปแบบ แต่ทั้งหมดจะถูกผูกด้วยการใช้ชำระค่าบริการผ่านคนกลาง หรือเพย์เมนต์เกตเวย์
ปัจจุบัน แม้แต่การใช้งานบัตรเครดิตในการชำระค่าสินค้า และบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นรูปแบบหนึ่งในการใช้งานอีเพย์เมนต์ การได้เห็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างซัมซุงนำ Samsung Pay มาให้บริการ หรือแม้แต่ Apple Pay ในต่างประเทศก็ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
2. อีมันนี่ (E-Money)
การชำระเงินด้วยระบบอีเพย์เมนต์ ในรูปแบบของการเติมเงินเข้าไปในระบบ จะเรียกเงินในระบบดังกล่าวว่าเป็น  อีมันนี่ ที่ปัจจุบันมีผู้ให้บริการอีมันนี่อยู่หลายราย ที่ผ่านการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น เอ็ม-เปย์ (m-Pay) ทรูมันนี่ (True Money) ไลน์เพย์ (LINE Pay)
ดังนั้น ใครที่เคยใช้ช่องทางเหล่านี้ในการชำระค่าบริการสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าอินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งการชำระเงินค่าสินค้าที่ซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยช่วงทางดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นการใช้งาน FinTech ในรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้การผูกบัญชีธนาคาร ผูกบัตรเครดิต เข้ากับกระเป๋าเงินออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้งาน เพราะทุกขั้นตอนในการใช้งานกระเป๋าเงินออนไลน์ จำเป็นต้องมีการใช้รหัสยืนยัน หรือการระบุตัวตนของผู้ใช้ให้ปลอดภัยมากที่สุด
3.พร้อมเพย์ (Prompt-Pay)
ใครจะคิดว่าการผูกหมายเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ เข้ากับบัญชีธนาคาร จะกลายเป็น FinTech รูปแบบหนึ่งได้ แต่ในความเป็นจริงพร้อมเพย์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินได้สะดวกขึ้น
ทั้งการโอนเงินที่แต่เดิมต้องทราบเลขบัญชีของผู้รับโอน แต่ปัจจุบันแค่รู้เบอร์โทรศัพท์ก็สามารถโอนเงินให้กันได้ทันที และที่สำคัญคือไม่เสียค่าธรรมเนียมในการโอน ในกรณีที่โอนเงินต่ำกว่า 5,000 บาท แม้ว่าจะข้ามธนาคาร หรือถ้าจะโอนเงินหลักแสนบาทก็เสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ แน่นอนว่า ในช่วงต้นปีที่รัฐบาลพยายามกระตุ้นให้เกิดการใช้งานพร้อมเพย์ ด้วยการเปิดโอกาสให้รับเงินคืนภาษีผ่านช่องทางพร้อมเพย์ จะได้รับเงินคืนรวดเร็วกว่าเดิม แม้จะเกิดข้อสงสัยว่ารัฐบาลทำไปเพื่ออะไร เพื่อตรวจสอบเงินที่หมุนเวียนเข้ามาในบัญชีต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้นหรือไม่ ในความเป็นจริง ถ้ารัฐบาล หรือหน่วยงานภาครัฐต้องการตรวจสอบ ก็สามารถยื่นเรื่องของข้อมูลบัญชีธนาคารได้ โดยไม่ต้องผ่านพร้อมเพย์อยู่แล้ว เพราะในการสมัครหรือเปิดบัญชีกับธนาคารใดก็ตาม หลักฐานที่สำคัญที่สุดคือสำเนาบัตรประชาชน เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชี ดังนั้นถ้าต้องการตรวจสอบจริง ๆ ทุกบัญชีที่เปิดตัวเลขบัตรประชาชนดังกล่าวไม่รอดแน่นอน
4.แพลตฟอร์มให้ข้อมูลหุ้น
ในหมู่นักลงทุน หรือผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้น บรรดาเหล่าสตาร์ทอัปในสายการเงินอย่าง Stockradar, Jitta รวมถึง Finnomena ต่างถือเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นมารับ FinTech อย่างแท้จริง ด้วยการนำข้อมูลในตลาดหุ้นมาวิเคราะห์ ทำเครดิตสกอร์ต่างๆ เพื่อดูแนวโน้มของตลาด และเลือกให้คำแนะนำในการลงทุนไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ต่างๆ แน่นอนว่าในแง่ของการลงทุนมีความเสี่ยงอยู่แล้ว การนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ ก็จะช่วยในการลดความเสี่ยงได้ แต่สุดท้าย แน่นอนว่าผู้ลงทุนก็ต้องนำข้อมูลเหล่านั้น มาประมวลผล ก่อนเลือกลงทุนให้เหมาะสม เพราะจริงเครื่องมีเหล่านี้เกิดขึ้นมาด้วยการนำข้อมูลที่มีอยู่ในตลาด มาประมวลผลด้วยเทคโนโลยี เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้งานอยู่ดี
ธุรกิจจะผลิดอกออกผลได้งดงามก็ต้องมีทั้ง ‘เมล็ดพันธุ์ที่ดี’ และ ‘ระบบนิเวศที่ดี’
ธนาคารแห่งประเทศไทยเล็งเห็นว่าการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลนั้นจะต้องปรับกฎหมายกฎระเบียบให้สอดคล้องด้วย ที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐควรปรับเปลี่ยนลักษณะการทำงานแบบบนลงล่าง (Top down) หรือ ล่างขึ้นบน (Bottom up) มาสู่การทำงานแบบกระจายตัว (Agile) และไม่รวมศูนย์ (Decentralize) จากเดิมที่เป็นผู้กำกับดูแลภายใต้กฎกติกาที่ล้าสมัย ภาครัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนมากยิ่งขึ้น จึงได้ริเริ่มโครงการ Regulatory Sandbox เปิดพื้นที่ให้ภาคธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินมีโอกาสสร้างสรรค์และทดสอบนวัตกรรมด้านการเงินใหม่ ๆ หากประสบความสำเร็จ ก็จะมีโอกาสออกสู่ตลาดจริง ทางกระทรวงการคลังได้มีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมฟินเทคเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ได้แก่
1) การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม อาทิ การพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในระบบบริการด้านการเงิน
2) การจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน (Institute for Financial Innovation and Technology: InFinIT) ในปี 2561-2562 ทำหน้าที่ตั้งแต่บ่มเพาะส่งเสริมสตาร์ทอัพสายฟินเทค การพัฒนาความสามารถด้านการสร้างนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ จนถึงการส่งเสริมระบบนิเวศที่เหมาะสม
3) การผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐมีบทบาทให้บริการและใช้บริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับฟินเทค เช่น การรับ-จ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐผ่าน e-Payment
ผลักดันนวัตกรรมทางการเงิน สร้างระบบนิเวศ ที่สมบูรณ์
          ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ดำเนินการเพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินพร้อมกับระบบนิเวศที่สมบูรณ์ในหลายด้าน ได้แก่ การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางการเงินผ่านกลไกการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox) ที่เอื้อให้ผู้ให้บริการทางการเงินทั้งสถาบันการเงินและที่ไม่ใช่สถาบันการเงินสามารถพัฒนาบริการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และทดลองให้บริการได้ โดยเริ่มจากการทดสอบการให้บริการในขอบเขตจำกัด ก่อนจะให้บริการในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและได้รับประโยชน์จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างเต็มที่ รวดเร็ว และปลอดภัย โดยที่ ธปท. ยังสามารถติดตาม ประเมินความเสี่ยงได้อย่างใกล้ชิดและเหมาะสม
          นอกจากนี้ ธปท. ยังได้เริ่มประยุกต์ใช้บล็อกเชนในงานของ ธปท. เอง เพื่อให้ ธปท. และผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้บล็อกเชนในเชิงลึกและประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้จริงต่อไป โดยได้ดำเนินโครงการนำร่อง 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอินทนนท์ที่ทดสอบใช้บล็อกเชนในการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และ (2) โครงการ DLT Scripless Bond ที่นำบล็อกเชนมาทดสอบใช้ในงานจำหน่ายพันธบัตรเพื่อช่วยลดความซับซ้อน ลดขั้นตอน และเวลาในการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง
          ธปท. ยังมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนา ต่อยอดบริการในอนาคต อาทิ การจัดตั้ง Thailand Blockchain Community Initiative ซึ่งเป็นความร่วมมือของภาคการเงินและภาคธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและส่งเสริมการนำบล็อกเชนมาพัฒนาบริการทางการเงินที่หลากหลาย รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานภาครัฐ และสมาคม ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ ในการติดตามพัฒนาการ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และแนวทางการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาฟินเทคในประเทศไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน ทันการณ์ สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน และสามารถช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินไทยให้เท่าเทียมกับนานาประเทศได้
ตัวอย่างการพัฒนาฟินเทคของหน่วยงานภาครัฐที่เห็นชัดเป็นรูปธรรม เช่น การพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ Propmtpay ซึ่งเปรียบเสมือน ‘เส้นเลือดใหม่’ ของระบบเศรษฐกิจไทย และเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากทำให้คนไทยเข้าถึงบริการทางการเงินและได้รับประโยชน์จากค่าธรรมเนียมที่ถูกลงมาก จากสถิติการเปิดให้บริการในปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ Promptpay ประมาณ127 ล้านครั้ง ยอดรวมการโอนเงินสูงกว่า 490,000 ล้านบาท โดยมีผู้ลงทะเบียนใช้บริการไม่ต่ำกว่า 39 ล้านบัญชี
ในส่วนตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มองว่า ฟินเทคจะช่วยทำให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ ช่วยเปิดโอกาสให้กับคนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินหรือแหล่งทุน สามารถเข้าถึงได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ก.ล.ต. จึงได้ออกเกณฑ์เพื่อรับรองการเสนอขายหุ้นออนไลน์ (equity crowfunding) ทำให้สตาร์ทอัพที่เปี่ยมด้วยศักยภาพนั้นมีโอกาสและทางเลือกการเข้าถึงเงินทุนมากขึ้น นอกจากนี้ ยังร่วมผลักดันพ.ร.บ. ฟินเทค เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายเก่าและรายใหม่ใช้เทคโนโลยีทางการเงิน พัฒนาบริการทางการเงิน-การลงทุนได้อย่างเต็มที่ โดยลดข้อจำกัดทางกฎหมายและการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการฟินเทคในประเทศไทยเลยทีเดียว
          ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะมีเทคโนโลยีทรงพลังแบบไหนเข้ามาท้าทายอุตสาหกรรมนี้อีกครั้ง แต่ที่แน่ ๆ คงใช้เวลาอีกไม่นาน จึงเป็นความท้าทายของภาครัฐที่จะต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ภาคเอกชนขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้ และสามารถยกระดับภาคการเงินแบบก้าวกระโดด ตลอดจนถึงกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมให้เกิดความเท่าเทียมอย่างแท้จริง
สถาบันการเงินกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอล
ระบบการเงินสมัยใหม่จะมีผู้ให้บริการที่หลากหลายมากขึ้นไม่เฉพาะแต่สถาบันการเงิน แต่จะมีผู้ให้บริการที่มิใช่สถาบัน การเงิน (Non-Bank) รวมถึงธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ เช่น ฟินเทค5/ (FinTech) เข้ามาร่วมพัฒนารูปแบบการชำระเงิน ร่วมกัน และระบบการเงินสมัยใหม่จะมีความเชื่อมโยงถึงกันหมด มีความหลากหลายของสื่อการชำระเงินและช่องทางการชำระเงินที่ มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้สถาบันการเงินมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่สำคัญ ได้แก่
การใช้ Mobile Banking รวมถึงการชำระเงินผ่าน Mobile Banking จะมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่การใช้ Internet Banking จะเติบโตค่อนข้างคงที่
Social Media และ Analytic Tools จะถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ลูกค้ามากขึ้นเพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ช่องทางการบริการทางการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินจะมีความหลากหลายและเชื่อมโยงกันมากขึ้นผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นMobile, Tablet, Computer และSmart TV เป็นต้น
การนำเทคโนโลยีการเงินรูปแบบใหม่ (FinTech)มาปรับใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้มีประสิทธิภาพผ่านระบบการสื่อสารออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม
อนาคตสู่ “AIแบงค์”
สิ่งที่ได้จากการพัฒนาเทคโนโลยีในยุคอินเทอร์เน็ตและโมบาย ในแง่ของการทำธุรกรรมและการธนาคาร คือ challenger และดิจิทัลแบงค์ หัวใจสำคัญในการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตล้วน ๆ คือต้องปิดธนาคารที่เป็น physical bankไปก่อน และทำให้การดำเนินกิจการทุกอย่างเกิดขึ้นบนออนไลน์แทน
การทำธุรกรรมทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ตช่วยลดต้นทุนการจ้างงาน และช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายขึ้นและมีประสิทธิภาพสำหรับลูกค้ารุ่นใหม่ที่เกิด และเติบโตมาในยุคของดิจิทัลอยู่แล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่เราได้เห็นทุกวันนี้ทำให้เราเข้าสู่ยุคใหม่ของการเงินการธนาคาร มีการใช้งานมนุษย์น้อยลง และให้เครื่องจักรที่อาจจะยังไม่สามารถทำงานได้ขนาดหุ่นยนตร์เข้ามาช่วยสนับสนุนงานลูกค้าสัมพันธ์ แต่เครื่องจักรเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นจากอัลกอลิธึมไปสู่ AI ที่มีชาญฉลาดและเข้าอกเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ซึ่งใกล้เคียงกับ Google Duplexซึ่งเป็นอีกเทคโนโลยี AIของ Google ที่นำมาใช้รับรองการทำงานที่ซับซ้อนของภาษาได้ ยิ่งจะเหนือชั้นกว่าบริการฮ็อตไลน์ลูกค้าสัมพันธ์อัตโนมัติที่เราคุ้นเคยกันอยู่ทุกวันนี้
AI แบงค์” คืออะไร
AIแบงค์”คือธนาคารที่ดำเนินงานด้วย AI หรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้ AI ในการดำเนินงาน ซึ่งธนาคารเหล่านี้ดึงAI เข้ามาเพื่อช่วยเสริมในเรื่องของการสื่อสารและกระบวนการอัตโนมัติ ผ่านความสามารถด้านปัญญาของเครื่องจักร เทรนด์ปัจจุบันที่ยังติดอยู่กับ “ธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต” ยังเป็นเรื่องที่หลายคนพูดถึงกันอยู่และเทรนด์หลักก็ยังเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ในภาคการธนาคาร เมื่อ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจนี้ ประเด็นของ “AIแบงค์” ก็จะมีการพูดถึงในอนาคตอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจนในที่สุด ก็พูดถึงเรื่อง “ธนาคารที่ใช้ AIเท่านั้น” ในหมู่นักการธนาคารและ FinTech
AIแบงค์”มีข้อดีต่อภาคการเงินและการธนาคารเป็นอย่างมาก การนำเอา AIมาใช้มีประโยชน์ตรงที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะเรื่องของแรงงานคน ซึ่งอีกไม่นาน การพัฒนาดังกล่าวก็จะเริ่มพูดถึงธนาคารที่ไม่จำเป็นต้องมีนายธนาคาร เจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือสาขาที่ตั้งของธนาคารอีกต่อไป เช่นเดียวกับวงการขนส่งและยานยนต์ที่ประโคมข่าวกันว่า รถยนต์ในอนาคตไม่จำเป็นต้องมีคนขับ สตาร์ทอัพด้าน FinTech และบริษัท techยักษ์ใหญ่อาจกำลังเริ่มซุ่มนำ AIเข้ามาสู่วงการนี้อย่างจริงจังแล้ว และต่อไปบรรดาธนาคารก็จะต้องตามกันให้ทัน 

บรรณานุกรม
ธนาคารออมสิน. (2559). กระแสโลกออนไลน์ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคในการทำธุรกรรมทางการเงิน นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในโลกการเงินได้ส่งผลให้เกิดรูปแบบการให้บริการทางการเงินต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวก และตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางการเงินสมัยใหม่ที่สามารถทำธุรกรรมการเงินได้ทุกที่ทุกเวลา. วันที่สืบค้น 9 มีนาคม 2563 จาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ดำเนินการเพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินพร้อมกับระบบนิเวศที่สมบูรณ์ในหลายด้าน ได้แก่ การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางการเงินผ่านกลไกการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox). วันที่สืบค้น 9 มีนาคม 2563 จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256203CoverStory.aspx

Marketing Oops. (2562). อนาคตสู่ “AIแบงค์”สิ่งที่ได้จากการพัฒนาเทคโนโลยีในยุคอินเทอร์เน็ตและโมบาย ในแง่ของการทำธุรกรรมและการธนาคาร คือ challenger และดิจิทัลแบงค์ หัวใจสำคัญในการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตล้วน ๆ คือต้องปิดธนาคารที่เป็น physical bankไปก่อน และทำให้การดำเนินกิจการทุกอย่างเกิดขึ้นบนออนไลน์แทน. วันที่สืบค้น 9 มีนาคม 2563 จาก

ออมสุขออมสิน. (2562). ด้วยทิศทางของธุรกิจธนาคารที่ต้องปรับตัวให้รับกับการมาของเทคโนโลยีทางด้านการเงิน (Financial Technology) หรือที่เราได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ว่า ‘FinTech’ ทำให้ปัจจุบันธนาคารรายใหญ่เริ่มมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาลงทุน อีกมุมหนึ่งก็ได้ให้การสนับสนุนนักพัฒนา และเหล่าสตาร์ทอัพเกี่ยวกับธุรกิจการเงิน เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นจุดแข็งในการให้บริการในอนาคตต่อไป. วันที่สืบค้น 9 มีนาคม 2563 จาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น